ผศ.นนทนันท์ พลพันธ์ จาก ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด เล่าให้ฟังว่า หลังการลงพื้นที่ไปดูงานฟาร์มเลี้ยง “จิ้งหรีด” แมลงเศรษฐกิจเพื่อเสริมรายได้ ของกลุ่มเกษตรกรที่อำเภอเกษตรวิสัย และส่วนตัวเองคือที่บ้าน(แม่ยาย) ก็เลี้ยงจิ้งหรีดอยู่ด้วย ทำให้รู้ถึงปัญหาของคนเลี้ยงจิ้งหรีดว่า การเลี้ยงมีปัญหาอะไรบ้างตลอดจนไปถึงในกระบวนการจำหน่าย “ผลผลิต” ที่ได้หลักๆ ที่ผ่านมา คือจะเน้นเป็นแบบแช่แข็ง และ “ตัวสด”
ซึ่งก็จะมีข้อจำกัดว่าอายุการเก็บที่ไม่นาน เพราะจิ้งหรีดเวลาออกไข่แล้วก็จะตายไป ส่วนที่ทำ “แช่แข็ง” เองก็มีปัญหาเรื่องต้นทุนที่ใช้ในการเก็บรักษาด้วย กว่าจะขายได้ทั้งหมดก็ต้องใช้เวลาในการแช่แข็งและเก็บไว้นาน จึงทำให้มีต้นทุนที่สูงเกินไป
“การเลี้ยงจิ้งหรีดของเกษตรกร จะใช้ระยะเวลาประมาณ 45 วันต่อ 1 รุ่นหรือ 1 รอบการผลิต เลี้ยงในบ่อเลี้ยงขนาด 120 ซม. x 2.40 เมตร จะได้ผลผลิตต่อครั้งอยู่ราว 20-25 กิโลกรัม/บ่อ ในขณะที่การจำหน่ายสร้างรายได้ทั้งแบบ “แช่แข็ง” และตัวสดราคาก็จะอยู่ที่ ประมาณ 100-120 บาท/กก. โดยมีต้นทุนผลิตโดยเฉพาะค่าหัวอาหารเลี้ยงอยู่ประมาณ 50%”
ผศ. นนทนันท์ บอกด้วย สำหรับต้นกำลังหลักที่ใช้ในการเปิดทำงานของเครื่องนี้ จะใช้แบบไฟฟ้าสามเฟส โดยมีอัตราในการใช้พลังงานใน 1 ห้องอบขนาด 2.4×3 เมตร จะใส่รถเข็นเข้าไปได้ประมาณ 5 คัน ความจุของชั้นวางของ 10 ชั้น สามารถอบวัตถุดิบ/หรือผลผลิตได้ครั้งละ ประมาณ 300 กิโลกรัม
โดยใช้ระยะเวลาในการอบ 24 ชั่วโมง คิดเป็นค่าไฟต่อครั้งอยู่ที่ประมาณ 100 หน่วย หรือหากเทียบจากเรทค่าไฟสมมุติอยู่ที่ราคาหน่วยละ 4 บาท ก็จะตกกิโลกรัมละประมาณบาทกว่า ๆ เท่านั้นเอง ทั้งนี้ จากผลผลิตสด 4 กิโลกรัม เมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปอบแห้ง-บดผง แล้วก็จะเหลือน้ำหนักแห้งอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลกรัมหรือเทียบสัดส่วนก็คือ 4 : 1 แต่ว่าจากราคาสด/แช่แข็งเดิมหลักร้อยที่ได้ก็จะขยับเพิ่มขึ้นมาทันที 1,000 บาท/กก. เป็นต้นไป
หลังจากแปรรูปเป็นผงแล้วก็เพิ่มมูลค่า จากเดิมเขาขายกิโลละ 100 เราก็ได้จิ้งหรีดผงกิโลละ 1,000 บาท แต่ว่าอาจจะใช้จิ้งหรีดสดประมาณ 4 กิโล จะได้เป็นจิ้งหรีดผง 1 กิโล หรือคิดเป็นการเพิ่มมูลค่าขึ้นมากว่า 200%
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ทักแชท https://m.me/kasetnewstv
ไลน์ @Kasetnews หรือกด
กด Like และ ติดตามเพจ
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72