หอยเชอรี่สีทอง…ศัตรูร้ายในนาข้าวสู่อาหารเหลาราคาแรง!

อาจารย์ประทีป มายิ้ม ปราชญ์เกษตรของแผ่นดินแห่งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “สวนพออยู่พอกิน บ้านมายิ้ม” พัทยาจ.ชลบุรี จุดเริ่มต้นก็มาจากจังหวัดทางภาคอีสาน ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อุดรธานี บริเวณนั้นก็เอามาเลี้ยงกันพอเลี้ยงไปแล้วมันเกิดการ

“จากทีแรกเลยมันก็เป็นสีทองนี่แหละ แต่ว่ามันกลับสู่สถานะเดิมมันเลยเป็นสีดำด้วย ครั้งแรกที่มันเข้ามาเลยคือเป็นสีทอง หรือที่เขาเรียกว่าสีสนิม มันจะเป็นสีสนิม ซึ่งครึ่งหนึ่ง (50%) ของยีนส์เดิมมันก็คือเป็นสีทอง อีกครึ่งหนึ่ง (50%) มันจะเป็นสีดำ แล้วทีนี้เลี้ยงไปเลี้ยงมามันกลายเป็นสีดำเยอะมาก

ทำให้มีการนำไปปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะมันก็ดำอยู่อย่างนั้น ที่เขาเรียกกันว่าสีสนิมนะ ส่วนไอ้ตัวสีทองยังคงสถานะเดิมไว้(F2) ที่ไม่ใช่เป็นF1 นะเพราะถ้าตัวนี้มันยังกลับไปสู่พ่อแม่ ปู่ย่าตายายได้ แต่ถ้า F2 มันก็จะยังคงสถานะเอาไว้ได้ 75% แล้วตัวที่เป็นสีทองมันก็จะมีอยู่เฉพาะในกลุ่มของร้อยเอ็ดหรือสะดืออีสานนั่นแหละ”

โดยจะมีการคัดเฉพาะตัวที่เป็น “สีทอง” เอามาเลี้ยง แล้วก็ทำให้มันเป็นเรื่องเป็นราวที่จะเอามาขายได้ จากศัตรู! แทนที่จะฉีดยาฆ่าทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ก็เอามาเลี้ยงซะ! แล้วก็ขาย ได้กิน(เป็นอาหาร) และก็ได้เงินด้วย

“หอยเชอรี่สีทอง” ก็มีการขยายสู่การเลี้ยงในรูปแบบฟาร์ม ทำเชิงการค้า รวมถึงการบริโภคหอยชนิดนี้ก็มีความนิยมแพร่หลายมาเรื่อย ๆ ถึงปัจจุบัน การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองสามารถทำได้ไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก ขอเพียงเข้าใจหลักการจัดการเรื่องน้ำที่ใช้เลี้ยงภายในบ่อหรือภาชนะที่เตรียมไว้ จากอัตราการขยายจำนวนประชากรครั้งหนึ่ง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะสูงมาก คือ จากการวางไข่1 ฝัก(ที่เห็นเป็นฝักสีชมพู) จะมีจำนวนอยู่กว่า800-2,000 ฟองเลยทีเดียว

การเลี้ยงอาหารใช้ได้ทั้งแบบให้กินพืช (ผักและใบไม้ต่างๆ) ควบคู่กันไปกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป(สูตรปลากินเนื้อ เช่น อาหารปลาดุก) ที่ให้ผลการเลี้ยงได้เร็วขึ้นกว่า หรือจะเป็นแบบ “ชีววิถี”ที่สวนพออยู่พอกินฯ ใช้เลี้ยงอยู่ ซึ่งจะให้กินอาหารที่เน้นพืชต่าง ๆ เป็นหลัก ก็สามารถให้ผลผลิตได้ดีไม่แพ้เช่นเดียวกัน

ตลาดหลักๆ ของหอยเชอรี่สีทองเลยคือจะเป็น ร้านส้มตำ โดยเฉพาะที่ไหนเป็นย่านท่องเที่ยวและมีร้านอาหารรสแซบประเภทนี้เปิดขายอยู่ ส่วนมากจะต้องการใช้หอยเชอรี่เพื่อปรุงเมนูต่าง ๆ เสิร์ฟลูกค้ากันอยู่แล้ว ร้านอาหารหรือภัตตาคารบางแห่งก็ใช้ด้วย อย่างที่ตนเองเลี้ยงอยู่ตอนนี้ก็มีหลายบ่อ คือทุกบ่อที่เลี้ยงสัตว์น้ำอยู่เดิมก็จะมีหอยเชอรี่สีทองที่เติมลงไปอยู่ในนั้นด้วย นับจำนวนแล้วก็หลักหมื่นตัวที่หมุนเวียนกันให้ผลผลิต

ซึ่งบรรดาแม่ค้าพอรู้ว่าที่นี่มีหอยเชอรี่สีทองก็มักจะแวะเวียนเข้ามาขอซื้อ ไม่เคยขาดเลยแต่ละวัน ก็จำเป็นจะต้องทยอยจับหอยขายให้อยู่เรื่อยๆ เช่นกัน โดยตั้งราคาเป็นแบบมิตรภาพให้คือ150 บาท/กก. คละไซส์กันไปเลยทั้ง “เล็ก-กลาง-ใหญ่” ก็เหมือนกับเป็นการบริหารจัดการจำนวนประชากรที่เลี้ยงอยู่ในบ่อ เพื่อไม่ให้มีหนาแน่นจนเกินไปด้วย

พร้อมกันนี้อาจารย์ประทีปยังได้ฝากเน้นย้ำสำหรับ ผู้ที่คิดจะเลี้ยงสัตว์ประเภทเหล่านี้ไว้ในครอบครอง คุณต้องมั่นใจและปลอดภัยได้ว่ามันจะไม่เล็ดลอดออกไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ควบคุมให้ดีอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ห้ามหลุดรอดออกไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นโดยเด็ดขาด มันถึงจะเป็นความยั่งยืนแท้จริง

ขอบคุณข้อมูล

https://mgronline.com/smes/detail/9650000121577

☎️ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

ทักแชท 📲https://m.me/kasetnewstv

📲 ไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇

https://line.me/ti/p/%40kasetnews

📲กด Like 👍 และ ติดตามเพจ 🌟

เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่

#หอยเชอรี่#หอยเชอรี่สีทอง#ข่าวเกษตร

#เกษตรอินทรีย์#เกษตรนิวส์

#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *