เกษตรกรต้องรู้!!! ก่อนใช้โดรนเพื่อการเกษตร

ยุคนี้ถือเป็นยุคที่เกษตรกรต้องการความแม่นยำสูงในการทำการเกษตร ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก “โดรน” เพื่อใช้ในการเกษตร เพราะนวัตกรรมสุดล้ำนี้ได้เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำ เกษตรแบบแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำ การพ่นยา การให้ปุ๋ย การถ่ายภาพวิเคราะห์เพื่อตรวจโรคพืช ซึ่งทำให้เกษตรกรประหยัดเวลาการทำงาน ประหยัดแรงงาน และยังมีความปลอดภัยต่อผู้ฉีดมากกว่าการฉีดพ่นสารแบบดั้งเดิม หรือการใช้คนเดินฉีดด้วย
และล่าสุดแหล่งเงินทุนใหญ่ของพี่น้องเกษตรกร ได้ออกนโยบายเอาใจเกษตรกรยุคใหม่ ด้วยการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อ โดรนกันแล้ว ส่วนใครกำลังมองว่า “โดรน” นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการทางการเกษตร และจะหามาไว้ใช้ซักตัว ยังไงก็ต้องรู้กฎหมาย ก่อนจะนำมาใช้อย่างถ่องแท้พ แต่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณ

โดรน” มีลักษณะการใช้งานแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ใช้สำรวจและวางแผนการผลิตพืช ไม่ว่าจะการสำรวจพื้นที่ ติดตามการเติบโตของพืช เพื่อนำมาคาดการณ์ผลผลิตหรือวางแผนการจัดการแปลง และประเภทที่สอง คือ ใช้เพื่อทุ่นแรง เช่น การหว่านเมล็ดพืช ปุ๋ย หรือฉีดพ่นสารเคมี โดรนถือเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะพืชที่มีลำต้นสูง

ทั้งนี้ การใช้โดรนในประเทศไทยมีข้อบังคับและกฎหมายควบคุมอยู่ จากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มีข้อบังคับที่เกษตรกรควรรู้ ดังนี้
– โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพและน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ แต่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
– การบังคับหรือปล่อยโดรนต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลาที่ทำการบิน และห้ามทำการบังคับโดยมองจากภาพของกล้องบนโดรน
– ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานที่มีนักบิน
– ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตรจากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน นอกจากจะได้รับอนุญาต
– ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่า 30 เมตร
– ห้ามทำการบินในบริเวณเขตห้าม รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานรัฐ โรงพยาบาล นอกจากจะได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ การใช้โดรนยังมีเงื่อนไขก่อนทำการบิน ระหว่างทำการบิน และบทลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งเกษตรกรที่สนใจควรศึกษาข้อบังคับเหล่านี้เพิ่มเติม จะได้ไม่เกิดปัญหาที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 1 ปี และปรับถึง 40,000 บาท หากนำมาใช้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดรน”ถือเป็นหนึ่งนวัตกรรมที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยพัฒนาไปอีกขั้น

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :

ขอบคุณ : ข้อมูลกฎหมายการใช้โดรน โดยBangkok Bank SME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *