5 เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตถั่วฝักยาว!

กรมวิชาการเกษตรส่ง 5 เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตถั่วฝักยาว!

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาการผลิตถั่วฝักยาวของเกษตรกรอำเภอวังทรายพูนและอำเภอบึงนารางจังหวัดพิจิตรพื้นที่ปลูกจำนวน 132 ไร่ ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตรสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.พิษณุโลก (สวพ.2) กรมวิชาการเกษตรได้นำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรลงไปช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ให้กับเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตผักตำบลหนองพระอำเภอวังทรายพูนและตำบลห้วยแก้วอำเภอบึงนารางจังหวัดพิจิตร

โดยผ่านกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือการฝึกอบรมและเสวนา และการจัดทำแปลงต้นแบบโดยปลูกถั่วฝักยาวพันธุ์พิจิตร 3 พืชพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีลักษณะเด่นเนื้อหนา อายุเก็บเกี่ยวสั้น 43 วัน ให้ผลผลิตสูง 3,861 กิโลกรัมต่อไร่ที่สำคัญเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในฤดูกาลผลิตต่อไปได้
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้นำเทคโนโลยีการผลิตของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 5 เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วฝักยาวในแปลงต้นแบบ ได้แก่ เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต 5 กิโลกรัม คลุกผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม ให้เข้ากันแล้วใช้รองก้นหลุมพร้อมปลูกหรือใส่รอบโคนต้นถั่วฝักยาวที่อายุ 1-2 สัปดาห์

เทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยเคมีจากปุ๋ยสูตรสำเร็จมาเป็นการผสมปุ๋ยใช้เองตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดย ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับ 18-46-0 อัตรา 17 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0-0-60 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อถั่วฝักยาวมีอายุ 1 เดือนใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 13 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่

เทคโนโลยีไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงสายพันธุ์ไทยป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกหนอนกินใบในระยะตัวอ่อน เช่น หนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนคืบ เป็นต้น โดยใช้อัตรา 5-10 ถุงต่อน้ำ 20 ลิตร ปริมาณและความเข้มข้นต่อพื้นที่จะแปรผันตามความรุนแรงของการระบาด เทคโนโลยีการใช้มวนพิฆาต ควบคุมหนอนกระทู้ หนอนคืบ และหนอนเจาะผลมะเขือ ทำการปล่อยมวนพิฆาตจำนวน 1,000-3,200 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง ตามความรุนแรงของการระบาดของศัตรูพืช

“เกษตรกรที่ผลิตถั่วฝักยาวโดยใช้ 5 เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรทำให้ได้ผลผลิตสูงถึง 3,850 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าวิธีการผลิตแบบเดิมของเกษตรกรที่ให้ผลผลิตเพียง 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 1,850 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว นอกจากนี้ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตลง 1,250 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้ 36,700 บาทต่อไร่
ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรหลังการทำนาและในอนาคตเกษตรกรในพื้นที่วางแผนที่จะขอรับรองพื้นที่การผลิตเป็นแหล่งผลิตพืช GAP เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและสร้างความยั่นยืนในอาชีพให้กับชุมชนต่อไป” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
โดยปลูกถั่วฝักยาวพันธุ์พิจิตร 3 ของกรมวิชาการเกษตรแทนพันธุ์การค้า นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตของกรมวิชาการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพการผลิตให้กับเกษตรกรแปลงต้นแบบและเกษตรกรในพื้นที่ที่มีความสนใจ
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
https://www.doa.go.th/th/?p=40218
———-
ทักแชทปรึกษาปัญหาพืช 📲 https://m.me/kasetnewstv
📲 ไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇
https://line.me/ti/p/%40kasetnews
———-
📲กด Like 👍 และ ติดตามเพจ 🌟
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
———-
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72
———-

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *