6 วิธีทางเลือกขายข้าวออนไลน์ ยกระดับราคาข้าวได้ง่ายๆ ให้กลายเป็นแบรนด์พรีเมียม

6 วิธีทางเลือกขายข้าวออนไลน์ ยกระดับราคาข้าวได้ง่ายๆ ให้กลายเป็นแบรนด์พรีเมียม

ในเมื่อโรงสีกดราคา ชาวนาเลยขายข้าวเสียเอง ได้กลายเป็นเทรนด์ที่ใครๆ ก็พูดถึงในเวลานี้ หลายคนก็เคยมีประสบการณ์ในการซื้อข้าวไรซ์เบอรี่จากชาวนาโดยตรงด้วยการโทรถามและไลน์คุยซึ่งถือว่าเป็นการช่วยชาวนาโดยตรง ทำให้การเป็นชาวนาออนไลน์ขายข้าวระดับพรีเมียมไม่ยากเลย ถ้ามี 6 สิ่งนี้

1.ข้าวคุณภาพดี สร้างสตอรี่เด่น
สร้างความแตกต่างจากข้าวถุงละข้าวกระสอบด้วยคุณภาพของข้าว ด้วยการบรรยายคุณภาพ ความนุ่มของข้าว และกรรมวิธีการปลูก พร้อมสตอรี่ต่างๆ ดึงดูดความสนใจบนพื้นฐานความเป็นจริง พร้อมรูปประกอบ เพราะถ้าลูกค้าซื้อข้าวไปรับประทานแล้วไม่เป็นจริงอย่างที่อ้างอิงก็จะเปลี่ยนใจไปเจ้าอื่นได้

2.แพคเก็จจิ้งง่ายต่อการขนส่ง
แพ็คเก็จสวยมีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ถ้าเป็นแพ็คเก็จจิ้งที่ขนส่งง่ายไม่แตกต่างจากข้าวที่จำหน่ายตามเชลฟ์จะดีกว่า เพราะด้วยน้ำหนักของข้าวที่หนักถ้าบรรจุไม่ดี ระหว่างขนส่งจะเกิดความเสียหายได้ การแพคข้าวแพคเพียง 1 กิโลกรัมต่อแพ็คจะสะดวกในการเปิดมารับประทานมากกว่าข้าว 5 กิโลกรัม

3.ช่องทางการติดต่อสะดวก
ถึงแม้จะเป็นข้าว แต่อย่าลืมว่า การขายข้าวออนไลน์ไม่ได้ขายข้าวผ่านหน้าร้าน ซึ่งลูกค้าอาจมีข้อสงสัยในการสั่งซื้อ และการมีช่องทางที่ติดต่อสะดวกจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจในการสั่งซื้อข้าวง่ายขึ้น

4.ขนส่งง่ายต่อการรับ
อุปสรรค์ในการขายข้าวออนไลน์คือต้นทุนการขนส่งที่แพง และอาจจะไม่สะดวกในการรับข้าวของลูกค้าบางราย เช่นการส่งข้าวทางไปรษณีย์กรณีแบบฝากส่งถ้าข้าวมีน้ำหนักมากเกินไปรษณีย์จะแจ้งให้มารับข้าวที่สำนักงานไปรษณีย์ในเขตพื้นที่แทน

5.ระบุวันเก็บเกี่ยว การันตีชาวนาตัวจริงไม่แอบอ้าง
การระบุวันเก็บเกี่ยวของข้าว พร้อมการันตีจากข้าวของที่นาเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อได้ว่าข่าวที่รับประทานนั้นขายตรงจากคันนา ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางที่แอบอ้าง

6.จำหน่ายผ่านเฟซบุ๊ก ฝากขายตามเว็บก็ได้เหมือนกัน

เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้ารู้จักข้าวของชาวนาได้มากขึ้น ชาวนาอาจสร้างเป็นเพจหรือบุคคลเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาทำความรู้จักและตัดสินใจซื้อข้าวผ่านเรื่องราวต่างๆ ที่โพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ไม่ว่าเป็นเป็นวันปลูกข้าว ข้าวตั้งรวง วันเก็บเกี่ยวและอื่นๆ นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังสามารถแชร์และบอกต่อเรื่องราวของชาวนาและข้าวที่จำหน่ายไปยังเพื่อนๆ ของลูกค้าได้ง่ายด้วย

ข้อมูลข่าว : http://marketeer.co.th/archives/98902
ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้และแลกเปลี่ยนเคล็ดลับ เกร็ดความรู้ทางการเกษตรได้ที่ www.kasetnews.com “คลังความรู้คู่เกษตรกร”
#kasetnews #kasetnewsshop #เกษตรนิวส์ #ข่าวเกษตร #สินค้าเกษตร#ทำเกษตร #เกษตร #amazingthailand #ข้าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *