มารู้จัก 7 จุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อระบบเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรอินทรีย์ สิ่งที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการเพาะปลูกทั้งหมด จะต้องมาจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยคอกที่จะนำมาใช้ในการเร่งการเจริญเติบโต แม้กระทั้งสิ่งที่จะนำมาย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ในดินก็มีส่วนสำคัญไม้แพ้กัน หัวใจหลักของการย่อยวัตถุอินทรีย์ นั่นก็คือ จุลินทรีย์ แต่บางชนิดก็เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อพืช


    จุลินทรีย์แบคทีเรีย (Bacteria)

      จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่รวมตัวกันอยู่ในกองปุ๋ยหมัก และในหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำขายเป็นการค้า มักมีลักษณะรูปร่างของจุลินทรีย์เป็นแบบง่าย ๆ 3 รูปร่าง คือ กลม เป็นท่อน และเป็นเกลียว ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะเป็นลักษณะใส ๆ มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่ได้ เติบโตได้ในอุณหภูมิหลายระดับ โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีทั้งแบบที่ต้องการออกซิเจน และไม่ต้องการออกซิเจน อาศัยอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะในดินป่าที่ชื่น มีบทบาทอย่างมากในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปลดปล่อยธาตุอาหารที่สำคัญให้กับพืช

จุลินทรีย์ กลุ่มที่เป็นเชื้อรา (Funji)

      จุลินทรีย์กลุ่มเชื้อรามักจะพบในกองปุ๋ยหมักเสมอ มักจะพบเติบโตในช่วงแรก ๆ ของการหมักกองปุ๋ย และจะพบบริเวณด้านนอกผิวของกองปุ๋ยหมักเป็นจำนวนมาก เมื่อกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 65 องศาเซลเซียส จะไม่พบเชื้อรา แต่จะพบเชื้อแบคทีเรียแทนเชื่อราจะมีประโยชน์ในการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักให้มีขนาดเล็กลงในระยะแรก ๆ ของการหมักปุ๋ย

จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือยีสต์ (Yeasts) และราเส้นใย

จุลินทรีย์เชื้อรา กลุ่มยีสต์ (Yeasts)

       ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว แทนที่จะเจริญเติบโตเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่น ๆ ทั่วไป ถึงแม้ยีสต์บางชนิดจะสร้างเส้นใยบ้างแต่ก็ไม่เด่นชัด การเพิ่มจำนวนจะอาศัยการแบ่งตัวหรือแตกหน่อไม่อาศัยเพศ มีรูปร่างกลมเมื่ออายุน้อย และรูปร่างรีเมื่ออายุมาก มีขนาดที่ใหญ่กว่าเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ทำให้เกิดกระบวนการหมักโดยจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และคาร์บอนไดออกไซด์ ปกติยีสต์จะอยู่ที่ผิวหน้าของวัสดุที่หมัก โดยจะเป็นฟองที่ลอยเป็นฝ้าอยู่ที่ผิวของน้ำหมัก นอกจากนี้ยีสต์ยังผลิตวิตามิน และฮอร์โมนในระหว่างกระบวนการหมักด้วย และยีสต์จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในค่าความเป็นกรดสูงระหว่าง 4.0 – 6.5 ซึ่งที่ค่าความเป็นกรด-ด่างขนาดนี้นั้น จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสีย จะเจริญเติบโตไม่ได้ ดังนั้นในการหมักเมื่อเกิดกลิ่นแอลกฮอล์ขึ้น จึงแสดงให้เห็นว่าขบวนการหมักมีคุณภาพและเป็นการหมักที่สมบูรณ์

จุลินทรียเชื้อรา กลุ่มที่เป็นราเส้นใย

      จะมีการดำรงชีวิตแบบหลายเซลล์ โดยส่วนใหญ่มีลักษณะการเจิญเติบโตเป็นเส้นใย ซึ่งอาจจะมีผนังกั้น หรือไม่มีก็ได้ เชื้อรากลุ่มนี้เป็นจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดและรูปร่าง อาศัยการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์ที่อาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ พบเห็นอยู่ที่ริมผิวหน้าของน้ำหมักหรือปุ๋ยหมัก

จุลินทรีย์แอคติโนมัยชิท

      เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดียว ที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคที่เรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเติบโตเป็นเส้ยใย และสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไป ส่วนของเส้นใยที่สัมผัสกับอากาศแห้งจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสปอร์ ซึ่งใช้ในการแพร่พันธุ์เช่นเดียวกันกับเชื้อรา มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าแบคทีเรียและเชื้อรา การเจริญเติบโตจะต้องอาศัยอากาศและออกซิเจนในอุณหภูมิ 65-75 องศาเซสเซียส ลักษณะของเชื้อแอคโนมัยชิที่พบบนกองปุ๋ยหมักจะเจริญเติบโตเป็นกลุ่ม เห็นเป็นจุดสีขาวคล้าย ๆ ผงปูนหลังจากที่อุณหภูมิของกองปุ๋ยสูงขึ้นมาก เชื้อแอคโนมัยชิทนี้มีบทบาทที่สำคัญในการย่อยอินทรีย์สาร เช่น เซลลูโลส ลิกนิน ไคติน และโปรตีน ที่อยู่ในกองปุ๋ยหมักขณะที่อุณหภูมิสูง

จุลินทรีย์ที่เป็น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

      แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่น ตรงที่มีคลอโรฟิลล์ มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว มีลักษณะเซลล์เหมือนแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ เจริญเติบโตได้ดีในนาข้าว สามารถตรึงไนโตเจนจากอากาศได้ถึงประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ มักอาศัยพึ่งพาอยู่กับแหนแดง ซึ่งเป็นเฟิร์นน้ำขนาดเล็ก ๆ ทำให้แหนแดงเป็ยปุ๋ยพืชสดอย่างดีในนาข้าว

จุลินทรีย์ โปรโตซัว (Protozoa)

      โปรโตซัว เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ อาศัยอยู่ในน้ำ ในดิน หรือเป็นปรสิต ชนิดที่เป็นปรสิตบางชนิดอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของปลวก เพื่อช่วยย่อยเนื้อไม้ จุลินทรีย์โปรโตซัวมีความสำคัญมากเพราะสามารถย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันจึงมีเกษตรกรนำเอาจาวปลวก มาหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อนำไปย่อยสลายฟางข้าวในนาและทำปุ๋ยหมัก

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ : rakbankerd /www.fourfarm.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *