การปลูกพืชไร้ดิน หรือ ไฮโดรโปนิกส์ ในอดีตที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูงเกินไป สำหรับเกษตรกรบ้านเรา แต่เนื่องจากการปลูกพืชในดินติดต่อกันมาเป็นเวลานานมาก ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งดินเค็ม ดินเปรี้ยว แมลงศัตรูพืช ทำให้ต้องใช้สารเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงได้มีการคิดค้นดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ การปลูกพืชไร้ดิน โดยใช้อุปกรณ์เก่าจากโรงเรือน หรือฟาร์มไก่ไข่ มาทำเป็นแปลงปลูก และใช้ระบบน้ำวนไหลผ่านรากพืช โดยใส่ธาตุอาหารที่พืชต้องการลงในน้ำ ซึ่งทำให้ลดต้นทุนการปลูกพืชไร้ดินลงได้มาก และที่สำคัญคือไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริง ๆ
ความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติกับปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ (ต่อ) | ผักไฮโดรโปนิก
ข้อดีของ การปลูกพืชไร้ดิน
1. สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100% และยังสามารถออกแบบให้ประหยัดพื้นที่การปลูกได้ด้วย
2. ดูแลได้ทั่วถึงเนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุม ช่วยป้องกันโรคและแมลง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก
3. ประหยัดน้ำและปุ๋ยเพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ
4. ไม่ต้องไถพรวน สามารถลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน
5. มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้สม่ำเสมอ
6. ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือปลอดสารพิษ
7. สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้
1Rai 1San on Twitter: “เรียนรู้ การปลูกผักคุณภาพในโรงเรือน มาชม พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ปิดวันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ #1ไร่1แสน https://t.co/q8Kh4PaQR5” / Twitter
ข้อเสียของ การปลูกพืชไร้ดิน
เนื่องจากมีการดัดแปลงแก้ไขและปรับปรุงในระบบเรื่อยมา ทำให้ลดข้อเสียต่างๆที่เคยพบในอดีตลงไปได้มาก เช่น
1. ในเรื่องของเทคโนโลยีต่างประเทศที่ราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงได้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็ไม่แตกต่างกัน
2. ความหลากหลายของพืชที่ปลูกไร้ดิน ในระยะแรกจะปลูกเฉพาะผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้สามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน และผักต่างประเทศ
3. ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อการปลูกพืชไร้ดิน ซึ่งในปัจจุบันได้มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลได้จากสำนักงานเกษตรในทุกพื้นที่
4. เรื่องของตลาดในปัจจุบันไม่ถือเป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้น
ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค พืชไร้ดิน
การปลูกพืชไร้ดิน เป็นการนำสารละลายธาตุอาหารมาละลายโดยใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืช เช่นเดียวกับการปลูกพืชในดิน แต่ต่างกันตรงพืชที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนเป็นรูปของธาตุอาหาร ซึ่งบางครั้งหากในดินมีธาตุโลหะหนัก เช่น ดีบุก ตะกั่ว แคดเมียม ที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค จุลินทรีย์ก็เปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุที่เป็นพิษเข้าไปได้ ในขณะที่การปลูกพืชไร้ดินเราสามารถควบคุมธาตุอาหารที่มีความจำเป็นเฉพาะการเจริญเติบโตของพืชและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคได
ขั้นตอนการปลูกพืช ไฮโดรโปนิกส์
1. การเตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูก ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุด ไฮโดรโปนิกส์ และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน
2. พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือ
2.1 เคลือบดินเหนียว เนื่องจากเมล็ดผักมีขนาดเล็ก ทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว เมล็ดที่เคลือบจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน
2.2 ไม่เคลือบ คือเมล็ดพันธุ์ปกติ
3. การเพาะต้นกล้า นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย รดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
4. การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร
4.1 ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
4.2 นำต้นกล้าที่แข็งแรง อายุประมาณ 2 สัปดาห์ ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
5. การดูแลประจำวัน
5.1 รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร
5.2 ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง
5.3 ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก หรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
6. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน
ขอบคุณข้อมูล : www.fourfarm.com