นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยในช่วงฤดูฝนให้ระวัง โรคตายพราย หรือ โรคปานามา หรือ โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp.cubense เป็นโรคที่เกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วยและพบมากในฤดูฝน
โดยให้สังเกตลักษณะใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่มักแสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน
“ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด”
วิธีป้องกันกำจัดโรค ผอ.สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช แนะว่า หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน และเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรค หรือไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย ใช้หน่อพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
thairath
#ข่าวเกษตร#เกษตรนิวส์#เกษตรอินทรีย์#ปลูกกล้วย