⚠️ การยางเดินหน้าปราบ ‘โรคใบร่วง’ หวังเกษตรกรจะมีข่าวดีเร็วๆ นี้ ‼️
.
กยท.น้อมนำพระราชดำริ ใช้หลักการธรรมชาติบำบัดใช้ “เชื้อรากำจัดเชื้อรา” แก้ปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ สวนยางของเกษตรกรสามารถกลับมากรีดได้ตามปกติ มั่นใจจะทำให้การระบาดลดลงอย่างแน่นอน พร้อมเดินหน้าจับมือเกษตรกรจัดทำแปลงสาธิตในทุกจังหวัด
.
สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2560 ในสวนยางพาราประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย พบโรครวมกันมากกว่า 2 ล้านไร่ จากนั้นเริ่มระบาดเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ตอนล่าง เริ่มจากสวนยางพาราในจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2562 และแพร่กระจายขึ้นมาระบาดในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง ตอนบน และภาคตะวันออกตามลำดับ
การระบาดรุนแรงต่อเนื่องจนถึงปี 2564-2565 มีสวนยางพาราทั่วประเทศได้รับผลกระทบรวมพื้นที่ประมาณ 1,000,000 ไร่ คิดมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท
.
การแก้ปัญหาระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ดังกล่าว กยท.ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรมส่งเสริมการ เกษตรในการเพาะเชื้อไตรโคเดอร์มาพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเพาะเชื้อใช้เอง โดยไม่ต้องซื้อและกรมพัฒนาที่ดิน ในเรื่องสารเร่ง พ.ด. เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา บวกกับปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพดังกล่าว เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ทำให้ต้นยางมีความสมบูรณ์ แข็งแรง โรคต่างๆก็จะเข้าทำลายได้ยาก
.
นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนลดลงอีกด้วย อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าปุ๋ยเคมีไม่ดี แต่เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก ซึ่งจะได้ประโยชน์ถึง 3 อย่าง คือ 1.ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น 2.ต้นยางแข็งแรง และ 3.ลดต้นทุนการผลิตเพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับเชื้อไตรโคเดอร์มาและน้ำหมักชีวภาพ เกษตรกรจะลงทุนแค่ 300 บาทต่อไร่เท่านั้น
.
โดยกยท. ยังได้มีการจัดทำแปลงสาธิตในการกำจัดโรคใบร่วงชนิดใหม่ในทุกจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างน้อยจังหวัดละ 5 แปลง โดยมีศูนย์วิจัยยางเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและการดูแลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อใช้เป็นแปลงตัวอย่างในการขยายผลไปแก้ปัญหาการระบาดในสวนยางอื่นๆ
.
“หลังจากที่เกษตรกรนำแนวทางการแก้ปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ดังกล่าว ไปใช้ในแปลงสวนยางสาธิต พบว่า ไม่มีเชื้อรา Colletotrichum ที่เป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว เกษตรกรสามารถกลับมากรีดยางได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากเดิมที่กรีดไม่ได้เลย และคาดว่าจะสามารถกรีดได้ตามปกติคือ กรีดยาง 2-3 วัน เว้น 1 วัน ได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางกลับมามีรายได้เช่นเดิม” รองผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
https://www.naewna.com/local/718656
🔰 ปรึกษาปัญหาเกษตร 🔰
📲 แอดไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇
▶️https://line.me/ti/p/%40kasetnew◀️
#สวนยาง#โรคใบร่วง
ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72
#เกษตรยุคใหม่#ข่าวเกษตร#เกษตรนิวส์