ทุเรียนเป็นที่ถูกอกถูกใจผู้บริโภคมากเท่าใด เปลือกทุเรียนเหลือทิ้งมากขึ้นเท่านั้น ถึงจะนำไปทำน้ำหมักและปุ๋ยได้ แต่ด้วยความยุ่งยากเสียเวลา พ่อค้าแม่ขายจึงเลือกที่จะนำไปทิ้งเสียเป็นส่วนใหญ่
.
ทำให้แต่ละปีมีเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งหลายพันตัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงสนับสนุนทุนให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พัฒนาเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สอยจากเปลือกทุเรียน ให้เข้ากับความต้องการของสังคมยุคใหม่ BCG Model (Bio-Circular-Green Economy)
.
ดร.จุฑาทิตย์ นามวงษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หัวหน้าโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากเปลือกทุเรียน เพื่อการใช้สอยในยุคสังคมใหม่ อธิบายถึงงานวิจัย ที่นอกจากจะช่วยสร้างเม็ดเงินให้ชาวบ้านในพื้นที่ จ.จันทบุรีแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะได้กว่าปีละ 3 พันตัน
.
จากการศึกษาพบว่าเปลือกทุเรียนมีเยื่อเซลลูโลส ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยพันธุ์ที่มีปริมาณเซลลูโลสมากที่สุด 53% คือหมอนทอง
.
นอกจากนี้ยังนำไปทำกระดาษที่มีความสวยงาม แต่ขาดความคงทน เพราะเส้นใยทุเรียนมีขนาดสั้น ทำให้การยึดติดระหว่างเยื่อไม่แข็งแรง จึงต้องผสมเยื่อชนิดอื่นๆร่วมด้วย
.
สำหรับเปลือกทุเรียนที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สอย ได้แก่ หมอนทอง ชะนี และกระดุม เพราะมีปริมาณเปลือกเหลือใช้จำนวนมาก และหาง่ายที่สุด โดยนำไปแปรรูปเป็นแผ่นกระดาษ แผ่นไม้อัด ด้วยกรรมวิธีการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อน และทำเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ ด้วยการขึ้นรูปแบบอิสระ และสามารถนำไปอัดเคลือบเรซินเพื่อให้วัสดุเงางาม ไม่เป็นฝุ่น
.
ดร.จุฑาทิตย์ อธิบายต่อไปว่า เมื่อคณะวิจัยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอยหรือวัสดุตกแต่งบ้าน อาทิ ชั้นวางของ เครื่องใช้สอยประเภทกรอบรูป กระถาง และตะกร้า ทำให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ช่วยลดขยะจากเปลือกทุเรียนในพื้นที่ ช่วยลดปริมาณการขนส่ง และกำจัดขยะของเทศบาลต่างๆ เนื่องจากเปลือกทุเรียนมีลักษณะแข็ง จึงสิ้นเปลืองพื้นที่การจัดเก็บ และใช้เวลาย่อยสลายนานกว่าขยะอื่นๆ
ขอบคุณภาพ-ข้อมูล
https://www.thairath.co.th/news/local/east/2693164
🔰 ปรึกษาปัญหาเกษตร 🔰
📲 แอดไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇
https://line.me/ti/p/%40kasetnew
#ทุเรียน#ปลูกทุเรียน
ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72
#เกษตรยุคใหม่#ข่าวเกษตร#เกษตรนิวส์