“หอมเลน้อย” (Hom Lay Noi) เป็นข้าวเจ้าหอม ไม่ไวต่อช่วงแสง ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะนาลุ่มภาคใต้ที่มีวิถีการทำนาริมเล สนับสนุนการฟื้นและสืบสานวัฒนธรรมการทำนาของคนใต้ เป็นการบูรณาการงานวิจัยเชิงพื้นที่สนับสนุนการขับเคลื่อน BCG สาขาเกษตร
นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันชุมชนและเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวพันธุ์ กข55 ซึ่งเป็นข้าวพื้นแข็ง แต่ผู้บริโภคในภาคใต้ให้ความสนใจบริโภคข้าวหอมนุ่มเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ข้าว “หอมเลน้อย” ถือเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรชาวนาภาคใต้ที่สนใจผลิตข้าวนุ่มคุณภาพดี
โดย ทีมวิจัยฯ ยังได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และหน่วยงานกรมชลประทาน วางแผนบูรณาการยกระดับการผลิตข้าวในพื้นที่ภาคใต้บนวิถีความมั่งคงทางอาหาร ด้วย “BCG Model” ก่อให้เกิดรายได้ทั้งด้านการผลิต การเพิ่มมูลค่า และการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งในโอกาสนี้ได้จัดงานเสวนา “งานวิจัยข้าวนาเลสู่การฟื้นวัฒนธรรมการผลิตข้าววิถีปักษ์ใต้”
ซึ่งมีหน่วยงานและเกษตรกรในท้องถิ่นเข้าร่วมมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง เป็นต้น
คุณสายันต์ รักดำ ประธานกลุ่มปลูกข้าวริมเล บ้านปากประ กล่าวว่า ทางชุมชนมีวัฒนธรรมการปลูกข้าวนาริมเล เป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ริมทะเลสาบในช่วงหมดฤดูฝน โดยเริ่มปลูกข้าวต้นเดือนมิถุนายนซึ่งน้ำในทะเลสาบลดระดับ แล้วเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนกันยายนของทุกปี พันธุ์ข้าวที่เจริญเติบโตในบริเวณนี้ต้องสามารถยืนต้นสู้กับกระแสคลื่นของทะเลสาบได้
ผลผลิตข้าวที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์อย่างแท้จริงเนื่องจากไม่มีการใส่ปุ๋ยระหว่างการปลูก การทำนาใช้เพียงเมล็ดพันธุ์และแรงงานเท่านั้น วิถีการปลูกข้าวริมเลเริ่มจางหายไปตามรุ่นอายุของเกษตรกร ปัจจุบันชุมชนได้เริ่มรื้อฟื้นวัฒนธรรมการปลูกข้าวริมเลให้ฟื้นกลับมาใหม่
ข้าวที่ออกดอกบริเวณริมทะเลสาบถือเป็นภาพที่สวยงามดึงดูดผู้คนให้เข้ามาเยือน ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรที่มีทั้งการทำการประมง การเกษตร ถือเป็นอีกหนึ่งวิถีการเกษตรปักษ์ใต้
ขอบคุณข้อมูล
ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999
ทักแชท https://m.me/kasetnewstv
ไลน์ @Kasetnews หรือกด
กด Like และ ติดตามเพจ
เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่
#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI หมายเลข 72