กระดาษทำจากต้นปาล์มที่โค่นทิ้ง

ม.ทักษิณ เผยงานวิจัย ‘กระดาษทำจากต้นปาล์มที่โค่นทิ้ง’ ลดขยะทางการเกษตร

ผศ.ดร.นันทรัตน์ พฤกษาพิทักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้คิดค้นงานวิจัย “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กระดาษที่มาจากต้นปาล์ม” โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) เพื่อลดปริมาณขยะทางการเกษตร และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) จัดเป็นพืชผสมข้ามใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ปาล์ม และเป็นพืชยืนต้นที่สามารถให้ผลผลิตทะลายสดได้ตลอดปี เริ่มจากที่ปาล์มมีอายุได้ประมาณ 2 ปีครึ่งหลังจากปลูก และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลาย สดได้นานกว่า 20 ปี อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย

โดยนวัตกรรมชิ้นนี้ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อยอด ผลิตให้เป็นลักษณะแผ่นบาง สำหรับนำมาห่อเป็นกระดาษของขวัญ เนื่องจากกระดาษจากเส้นใยปาล์มสามารถย่อยสลายได้ดีในธรรมชาติ

ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์กระดาษที่มาจากต้นปาล์มยังไม่ได้ทำเป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์ เนื่องจากยังมีขั้นตอนการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับความสามารถในการต้านการซึมน้ำ โดยขณะนี้กำลังศึกษาการนำพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้มาเคลือบตัวเยื่อของลำต้นปาล์มอีกครั้ง เพื่อให้ตัวผลิตภัณฑ์กระดาษจากต้นปาล์ม สามารถสัมผัสกับอาหารได้ โดยไม่รั่วซึม

ขอบคุณภาพ-ข้อมูล

https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000038319

ปรึกษาปัญหาเกษตรโทร.02-104-9999

ทักแชท 📲https://m.me/kasetnewstv

📲 ไลน์ @Kasetnews หรือกด 👇

https://line.me/ti/p/%40kasetnews

🚨 ช่องทำเกษตรอินทรีย์ 👉https://bit.ly/เกษตรเพียวเพียว

—————————

📲กด Like 👍 และ ติดตามเพจ 🌟

เพื่อรับข่าวสารด้านเกษตรก่อนใครได้ที่นี่

#ช่องเกษตรนิวส์ ดูได้ที่กล่อง PSI 📺 หมายเลข 72

#ปาล์มน้ำมัน#เกษตรนิวส์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *