รู้จัก เจตมูลเพลิงแดง ต้านเนื้องอกลดเสี่ยง “มะเร็ง”

เจตมูลเพลิงแดง คือ สมุนไพร ที่มีสรรพคุณมากมาย หลายคนอาจรู้จักแล้วแต่ไม่รู้ว่าคือต้นนี้ เพราะบางพื้นที่เรียกไม่เหมือนกัน เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวแดง บางที่เรียกตั้งชู้โว้ หรือภาคอีสานบางที่เรียก ปิดปีแดง ทางใต้เรียกว่า ไฟใต้ดิน หรือในจังหวัดกาญจนบุรีและที่อื่นๆ รู้จักในชื่อ คุ้ยวู่

เจตมูลพลิงแดง  เป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก  มีอายุหลายปี กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนเป็นสีแดง กลีบดอกมีสีแดงสด มีผลเป็นฝักกลม ทรงรียาว ยางจากรากเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ พอง เหมือนโดนไฟจึงได้ชื่อว่า “เจตมูลเพลิง”

ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ราก ของต้นเจตมูลเพลิงสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย โดยมีสรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้ธาตุพิการ ช่วยย่อยอาหารเจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ กระจายลม กระจายเลือด แก้พยาธิ ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวาร บำรุงเลือด ช่วยฟอกโลหิต ระงับอาการปวดฟัน แก้ตัวร้อน รักษาฝี แก้ปอดชื้น ปอดบวม ขับเหงื่อ แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดศีรษะและรังแค 

และคุณสมบัติสำคัญคือ การต้านการเกิดของเนื้องอก โดยถือเป็น 1 ใน สมุนไพรในตำรับยาแผนไทยที่เรียกว่า พิกัดเบญจกูล เป็นตำรับยาสำหรับใช้ปรับธาตุผู้ป่วยมะเร็งก่อนการรักษาด้วยตัวยาอื่น ประกอบด้วย ผลดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้านเหง้าขิงแห้งและรากเจตมูลเพลิงแดง ที่มีการศึกษาพบว่าสารสกัดของยาแผนไทย์ตำรับนี้ มีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งปอดได้ โดยสารที่ออกฤทธิ์ที่ดีในเซลล์มะเร็งทุกชนิด เป็นสารสำคัญในรากเจตมูลเพลิงแดงนั่นเอง

สรรพคุณจากส่วนอื่นๆ  คือ ลำต้น – ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดท้อง กระพี้ – แก้เกลื้อนช้าง  แก่นของต้น – แก้ขี้เรื้อนกวาง  แก้เรื้อนน้ำเต้า ดอก- แก้โรคที่ทำให้นาวและเย็น  ลูก- แก้พยาธิผิวหนัง แก้ฝี 

สูตรบรรเทาความเจ็บปวดจากมะเร็ง  (ห้ามกินในขณะที่มีอาการเป็นไข้)

ส่วนผสม : รากเจตมูลเพลิง 1 ราก + น้ำซาวข้าว 1 ถ้วย

วิธีทำ :  นำรากมาฝนกับหิน แล้วผสมกับน้ำซาวข้าว จนได้น้ำข้นขุ่น เพื่อดับพิษร้อน ประมาณ 1 ถ้วยกาแฟ

วิธีรับประทาน :  ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ (30 ซีซี) วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น ก่อนอาหาร ประมาณ 3-7 วัน ตามอาการหนักหรือเบา

ข้อควรระวัง

1. ห้ามใช้ในสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้มดลูกบีบตัว จนมีอาการแท้งได้

2. มีที่ทำให้ผิวหนังระคายเคืองอย่างแรง ทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดตุ่มพองได้ หากใช้ในขนาดสูง จะกดการหายใจ เป็นพิษต่อไต  ทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว การใช้สมุนไพรนี้จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนไทย

ขอขอบคุณ : fourfarm.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *