เคล็ดลับ “แกล้งกะเพรา” ทำให้ต้นกะเพราสูงใหญ่ ออกใบเยอะ 

“กะเพรา” ถือเป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย ใครพอมีพื้นที่สักนิด หรือแค่ที่วางกระถางต้นไม้เล็กๆ สักหน่อย แค่หว่านเมล็ด รดน้ำก็ปลูกขึ้นแล้ว แต่ถ้าใครกินบ่อยก็อาจจะแตกยอดไม่ทันใจนัก วันนี้เรามีเทคนิคให้ต้นกะเพราแตกใบเยอะๆ มาฝากกัน เป็นเคล็ดลับที่ไม่ลับของชาวสวนกะเพรา

โดยวิธีนั้นง่ายมากคือ ทุกๆ เช้าให้เด็ดยอดอ่อนของใบกะเพราทุกวัน (ยอดที่เป็นดอก) อย่าให้ออกดอกได้ เพราะเจ้าดอกกะเพรา คือ การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของมันถ้าเราคอยเด็ดดอกออก ต้นกะเพราก็จะเข้าใจว่าไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อได้ ทำให้ต้องรีบแตกหน่อ ออกดอก ออกใบให้เยอะขึ้น เป็นการแกล้งให้กะเพราเข้าใจผิด (คงเข้าใจผิดว่าจะสูญพันธุ์ต้องรีบ ออกดอก ออกลูก มาเพิ่ม )

“กะเพรา” เป็นทั้งอาหารและยาชั้นเลิศใช้ทางการแพทย์อายุรเวทมายาวนานกว่า 5 พันปี ในภาษาฮินดี เรียกว่า Tulsi หมายความว่า ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบได้ กะเพรา มี 2 สายพันธุ์คือ กะเพราขาว และกะเพราแดง ประโยชน์ของกะเพราต่อร่างกายมีมากมาย ดังนี้

ด้านสมอง-อารมณ์ พบว่าช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียดและอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งลดความเครียด ปรับสมดุลธาตุในร่างกายและจิตใจด้านการมองเห็น พบว่า สารสกัดด้วยน้ำจากกะเพราแดง การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกได้อีกทางหนึ่ง และมีการมองเห็นที่ดีขึ้น กะเพราแดงมีสารที่สำคัญต่อการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ลูทีน และซีแซนทีน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ด้วย

ด้านระบบเมตาบอลิซึม (น้ำตาลในเลือด/ไขมันในเลือด) ชาวอินเดียและชาวปากีสถานใช้กะเพราทั้งแบบต้มน้ำกินและแบบผงเพื่อรักษาเบาหวาน หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้านระบบทางเดินหายใจ ใบกะเพรามีเอกลักษณ์ด้านกลิ่นและรส คือ กลิ่นฉุนรสออกเผ็ดร้อน ส่งผลดีต่อระบบทางเดินหายใจ ตำรายาไทยระบุว่ากะเพราช่วยขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ไข้ และมีการศึกษาในคนไข้หอบหืดยืนยันว่า กะเพราทำให้ปอดมีการทำงานดีขึ้น การหายใจสะดวกขึ้น และยังมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย

ด้านระบบทางเดินอาหาร ตำรายาไทยใช้ใบและยอดกระเพราเป็นยาบำรุงธาตุ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน
กะเพราแดง ประโยชน์เยอะ ควรปลูกติดบ้านไว้

ขอขอบคุณ : www.fourfarm.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *