ปลูกกล้วยหน้าฝน! ระวังโรคตายพราย

นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเฝ้าระวัง โรคตายพราย หรือ โรคปานามา หรือ โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน

ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด…

การป้องกันกำจัดโรค หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อนและเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรค หรือไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย ใช้หน่อพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์กล้วยด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช อีไตรไดอะโซล+ควินโตซีน 6% + 24% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล 43% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พร้อมกับปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี และต้องระมัดระวังการให้น้ำไม่ให้น้ำไหลผ่านจากต้นที่เป็นโรคไปต้นปกติ หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ…

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *